แบคทีเรียตัวการของอาหารเป็นพิษ
Bacteria-a common cause of food poisoning.
การเกิดอาหารเป็นพิษ มีสาเหตุจากเชื้อโรค หลายชนิดและแต่ละชนิด ก็มีอาการใกล้เคียง กันมาก จนอาจแยกไม่ออก วิธีที่ดีที่สุด ควรรีบพบแพทย์เมื่อ เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
เมื่อร่างกายได้รับแบคทีเรีย จะสำแดงอาการ ตามฤทธิ์ของแบคทีเรียนั้นๆ
และเชื้อที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดอาหารเป็นพิษ ที่พบได้บ่อย ได้แก่-
แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter)
พบในเนื้อสัตว์ ที่ปรุงไม่สุก นมสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ น้ำดื่มที่ไม่สะอาด อาการติดเชื้อที่แสดงคือ มีไข้, ปวดท้อง, อาเจียน, ท้องเสีย แต่มีน้อยรายมาก ที่พบ อาการรุนแรงมากจนระบบประสาทอักเสบ และกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต -
ซัลโมเนลลา (salmonella)
- พบในเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ผลไม้สด ผักสด ไข่ดิบ อาการติดเชื้อที่แสดงคือ ท้องเสีย, ปวดเกร็งท้อง, อาเจียน, มีไข้ แต่บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ซึ่งพบไม่มากนัก -
อี.โคไล (Escherichia coli O157:H7)
- เติบโตได้ง่ายในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง นมสดที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาการติดเชื้อที่แสดงคือ ปวดเกร็งท้อง, มีไข้, อาเจียน และอาจรุนแรงจนถึงเกิดภาวะไตวาย โดยเฉพาะหากเกิดการติดเชื้อในเด็ก -
สแตฟฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus)
ออกฤทธิ์ได้เร็วและรุนแรง เพียงไม่ถึง 1 ไมโครกรัม ของการได้รับเชื้อ สแตฟฟิโลค็อกคัส ก็จะสำแดงอาการ มักพบในอาหาร ซึ่งเกิดจากขั้นตอน การฆ่า ชำแหละ แปรรูป การขนส่ง และ การปรุงแบบกึ่งสุกกึ่งดิบและนำมาปรุงไม่สุก อาการติดเชื้อที่แสดงคือ คลื่นไส้, อาเจียน, วิงเวียน, ตะคริวที่ท้อง ในรายที่รุนแรงจะมีอาการอื่นแทรก ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง จนถึงชีพจรเต้นผิดปกติ
-
วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus)
สามารถอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม พบในอาหารทะเลกลุ่มที่มีเปลือก เช่น กุ้ง หอย ปู อาการติดเชื้อที่แสดงคือ ถ่ายเหลว, อาเจียน, มีไข้ ผลของเชื้อในระยะยาว ทำให้ข้ออักเสบ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium Botulinum)
พบในอาหารกระป๋อง หน่อไม้ปี๊บ อาหารดองต่างๆ เพราะ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม สามารถอาศัยได้ในที่ขาดอากาศ จัดเป็นแบคทีเรียที่มีพิษรุนแรง อาการติดเชื้อที่แสดงคือ อาเจียน, หายใจขัด ฤทธิ์ ของคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ดังนั้น ในรายที่มีอาการรุนแรง พิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาท กล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ การหายใจล้มเหลว
0 comments:
แสดงความคิดเห็น