1/30/2555

Carbohydrate คาร์โบไฮเดรต


Carbohydrate (คาร์โบไฮเดรต)

เป็นสารอาหารที่มี คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน (Carbon, Hydrogen and Oxygen) เป็นองค์ประกอบสำคัญ คาร์โบไฮเดรตที่มีในอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม


พวกที่เป็นน้ำตาล - คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวานและละลายน้ำได้ แบ่งออกได้ 

  1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ Monosaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้อีก สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ตัวอย่างของน้ำตาลชนิดนี้ คือ กลูโคส , ฟรุกโตส , และแกแล็กโตส
    sugar
    • Glucose (กลูโคส) พบในผักและผลไม้ที่มีรสหวาน

    • Fructose (ฟรุกโตส) มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในน้ำผึ้งและผัก ผลไม้ที่มีรสหวานเช่นกัน

    • Galactose (แกแล็กโตส) พบในน้ำนม

  2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็กคาไรด์ Disaccharides เป็นคาร์โบไฮเดรต ที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ น้ำตาลชนิดนี้ เมื่อกินเข้าไป ร่างกายจะย่อยสลาย ให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จึงดูดซึมไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างของน้ำตาลชนิดนี้ คือซูโครส หรือ น้ำตาลทรายมอลโทส และ แล็กโทส (Sucrose , Maltose or Malt Sugar and Lactose)

  3. Sucrose (ซูโครส) พบในผักและผลไม้ เช่น อ้อย ตาล มะพร้าว หัวบีท ฯลฯ Sucrose แตกตัวออกจะได้ Glucose (กลูโคส) และ Fructose (ฟรุกโตส) อย่างละ 1 โมเลกุล

  4. Maltose (มอลโทส) พบใน ข้าวบาร์เลย์ หรือ ข้าวมอลต์ ที่นำมาทำเบียร์ เครื่องดื่มมอลต์ต่างๆ Maltose เมื่อแตกตัวออกจะได้ Glucose (กลูโคส) 2 โมเลกุล

  5. Lactose (แล็กโทส) พบในน้ำนม Lactose เมื่อแตกตัว จะได้ Glucose (กลูโคส) และ Galactose (แกแล็กโตส) อย่างละ 1 โมเลกุล

พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล - เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน ละลายน้ำยากหรือไม่ละลายเลย

กลุ่มที่ไม่ใช่น้ำตาลนี้ เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ Monosaccharide โมโนแซ็กคาไรด์ จำนวนมาก เกาะรวมตัวกัน เป็นสารที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน เรียกว่า Polsaccharide (พอลิแซ็กคาไรด์) ตัวอย่าง ของ Carbohydrate (คาร์โบไฮเดรต) กลุ่มนี้ ได้แก่
Fruit

  1. Flour (แป้ง) เป็นคาร์โบไฮเดรต ที่พืชเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ส่วนของเมล็ด ราก หรือ หัว

  2. Cellulose (เซลลูโลส) เกิดจาก กลูโคส ประมาณ 50,000 โมเลกุล เชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ขนานกัน และ มี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างสาย จึงมีลักษณะเป็นเส้นใยพบในพืช โครงสร้างส่วนใหญ่ของพืชเป็น เซลลูโลส โดยเฉพาะที่ เปลือก ใบ และเส้นใยที่ปนอยู่ในเนื้อผลไม้

    ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้ แต่จะขับถ่ายออกมาในลักษณะของกาก ที่เรียกว่า เส้นใยอาหาร , เส้นใยอาหาร ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ขับถ่ายสะดวก พืชประเภทผัก และถั่ว ผลไม้ มีเซลลูโลสอยู่ปริมาณสูง จัดเป็นแหล่งที่ให้เส้นใยอาหาร จึงควรกินเป็นประจำทุกวัน ประมาณ 20 - 36 กรัม ต่อวัน

  3. Glycogen (ไกลโคเจน) เป็นคาร์โบโฮเดรตประเภทแป้ง ที่สะสมอยู่ในร่างกายของคน และ สัตว์ ไม่พบในเซลส์พืช พบมากใน ตับ และ กล้ามเนื้อ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง แต่มีกิ่งก้านมากกว่า เมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลง หรือร่างกายขาดสารอาหาร ตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็น Glucose (กลูโคส) เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายต่อไป ไกลโคเจนประกอบ ด้วยกลูโคสประมาณ 10,000-30,000 โมเลกุล
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลัก ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายนำมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่างกายต้องใช้พลังงาน จากคาร์โบไฮเดรต ในแต่ละวันประมาณร้อยละ 50 - 55 ของพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับจากอาหาร ดังนั้น การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้ได้ปริมาณ 300 - 400 กรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณพลังงาน ที่ร่างกายต้องการ

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

 

To live healthy Copyright © 2009 Cosmetic Girl Designed by Ipietoon | In Collaboration with FIFA
Girl Illustration Copyrighted to Dapino Colada