1/14/2556

เป็นตะคริวแล้วควรทำอย่างไร


ตะคริว เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและไม่สามารถควบคุมให้คลายตัวได้และตะคริวมีโอกาสเกิดได้จากหลายสาเหตุ
  • ร่ายกายขาดน้ำและเกลือแร่มากๆ ซึ่งนอกจากทำให้มีโอกาสเป็นตะคริวแล้ว ยังส่งผลเสียอื่นต่อร่างกายอีก คือ ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารและผิวพรรณไม่สดใส

  • การทำงานมากๆ จนเมื่อยล้า หรือ นั่งอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก

  • และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือ ความเครียดของเรานั่นเอง การตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างสม่ำเสมอ

  • คนที่ร่างกายอ่อนแอหรือขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ

  • ยาบางประเภททีส่งผลข้างเคียงต่อการเป็นตะคริว เช่น กลุ่ม diuretics (ยาเม็ดน้ำ) nifedipine, cimetidine, salbutamol, ยากลุ่ม statin, terbutaline, ลิเธียม clofibrate, penicillamine, phenothiazines และกรด nicotinic

  • ระดับเกลือแร่โซเดียม หรือโพแทสเซียม ในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
  • คนไข้ที่ได้รับการฟอกไตบางราย

  • หญิงตั้งครรภ์
  • คนไข้โรคกับต่อมไทรอยด์ underactive
  • ผู้ที่ติดสุราเพราะในร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์สูงเกินไป
  • ความผิดปกติของเส้นประสาท
  • และยังพบในผู้ป่วยอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง, โรคหลอดเลือด หรือผู้ที่ได้รับสารพิษตะกั่ว,
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับร่างกายคนเรา

โดยปกติแล้ว ตะคริว มักเกิดขึ้นในเวลาที่พักผ่อนนอนหลับในช่วงกลางคืน ระยะเวลาอาจแค่เสี้ยววินาที หรือ ประมาณ 2-5 นาที ซึ่งถ้าใครที่เป็นบ่อยก็จะพบว่า ตะคริว จะคอยรบการพักผ่อนอยู่บ่อยๆ และพบการเป็นตะคริวในคนสูงอายุมากกว่า

ซึ่งเมือเป็นตะคริวแล้วอาการปวดอาจต่อเนื่องไปทั้งวันก็เป็นได้และวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การดันหรือยืดให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งคลายตัวออกช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ
ความเครียดคือสาเหตุข้อหนึ่งทำให้เป็นตะคริว

เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่องขณะที่นอนอยู่ ใช้มือนวดกล้ามเนื้อน่องบริเวณที่เป็นตะคริว โดยนวดลงไปทางข้อเท้าหลายๆครั้งเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง

ถ้านั่งเก้าอี้อยู่ให้ใช้วิธีดันปลายเท้ากระดกขึ้นช้าๆ หรือลงมายืนตรง เมื่อกล้ามเนื้อน่องยืดตะคริวจะคลายตัวอาการเจ็บจะน้อยลง

หรืออาจยืนหันหน้าเข้าหากำแพงโดยเท้าสองข้างห่างออกจากกำแพง 2-3 ฟุต โน้มตัวลงใช้มือจับกำแพงไว้ทำเหมือนจะวิดพื้น ท่านี้จะเป็นการยืดกล้ามเนื้อน่องได้เช่นกัน

สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ กระตุกหรือ กระชากอย่างรุนแรงรวดเร็ว เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้

อาการของตะคริวแม้ไม่ส่งผลถึงชีวิต แต่ก็นับว่าอันตรายมากหากเป็นตะคริวในช่วงที่ไม่เหมาะสม เช่น ขณะขับรถ, ว่ายน้ำ ฯลฯ หรือกิจกรรมที่หยุดในทันที่ไม่ได้



credit:
พบหมอศิริราช: โดย อ.น.พ. ยงชัย นิละนนท์
www.patient.co.uk

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

 

To live healthy Copyright © 2009 Cosmetic Girl Designed by Ipietoon | In Collaboration with FIFA
Girl Illustration Copyrighted to Dapino Colada