11/15/2554

Zinc เราต้องกินสังกะสีจริงหรือ


Zinc หรือ สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย (Trace Minerals)

แม้ว่าร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่จะขาดไม่ได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็ทำงานผิดปกติไป

ส่วนประกอบของสังกะสีในร่างกายมนุษย์ คือ 90% อยู่ที่ กระดูก กล้ามเนื้อ 10% อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด และแบ่งย่อยลงอีก คือ สังกะสีที่อยู่ในเลือดนั้น 80% อยู่ในเม็ดเลือดแดง อีก 20% อยู่ในน้ำเลือด


สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีความสำคัญต่อการทำงานของตับ,ตับอ่อน และ มีส่วนร่วมในการทำงานกับโปรตีนเอนไซม์ มากกว่า 100 ชนิด เอนไซม์

อาจกล่าวได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ เช่น ช่วยกำจัดแอลกอฮอล์ ในตับ ใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน สร้างกระดูกและฟัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบประสาทสมองให้สมดุล มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโต สังกะสี ช่วยให้เซลส์สามารถจับกับวิตามิน เอ ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี แผลต่างๆ หายเร็วขึ้น ป้องกันการเป็นหมัน



สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ขึ้นได้เอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว แหล่งอาหารที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง นมวัว นมแม่ หอยนางรม อาหารทะเล ธัญพืชและถั่วต่างๆ



ความต้องการสังกะสี ในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)
อายุ > 1 ปี ปริมาณแนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 1 –10 ปี ปริมาณแนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 11+ ปี ปริมาณแนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน

แม้ว่าร่างกายต้องการสังกะสีเพียงเล็กน้อย และได้เลือกบริโภคอาหารที่มีสังกะสีแล้วก็ตาม  แต่ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ร่างกายได้รับ สังกะสีไม่เพียงพอ


  • การบริโภคอาหารที่มีสังกะสีน้อยเกินไป หรือบริโภคอาหารกลุ่มไฟเบอร์ แอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้การดูดซึมสังกะสีได้ลดลง






  • อายุที่มากขึ้น, หญิงตั้งครรภ์, คนที่ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน, คนที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง, ผิวหนังอักเสบ หรือ ตับแข็ง จำเป็นต้องได้รับสังกะสีมากขึ้น






  • คนที่เป็นโรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสีไม่ดี คือโรคที่เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica ซึ่งมีอาการเป็นโรคผิวหนังอักเสบ และมีความผิดปกติทางจิตใจ




  • การขาดสังกะสีเป็นเวลานาน ในเด็กทำให้แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต ,ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดง พุพอง, การรับรู้รสน้อยลง, ซึมเศร้า, ตาบอดแสง, ผมร่วง, เล็บเปราะ ฯลฯ

    0 comments:

    แสดงความคิดเห็น

     

    To live healthy Copyright © 2009 Cosmetic Girl Designed by Ipietoon | In Collaboration with FIFA
    Girl Illustration Copyrighted to Dapino Colada