โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD)
คือโรคที่สมองมีความผิดปกติจนทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการจำ การใช้เหตุผล จนถึงการใช้ภาษาในการสื่อสารสิงที่คนใกล้ชิดควรรู้ เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
แพทย์อาจใช้ยาเพื่อช่วยให้ความจำดีขึ้น รักษาหรือลดอาการกระสับกระส่ายและภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและเข้าใจ เพราะโรคอัลไซเมอร์ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากมาย โดยที่ตัวผู้ป่วยเองก็ไม่สามารถบอกกล่าวรายละเอียดได้ว่าเกิดจากเหตุใด
การดำเนินโรคอัลไซเมอร์มี 4 ระยะ
โดยแบ่งจากลักษณะความบกพร่องของหน้าที่และการรับรู้ที่ลดลงเรื่อยๆ- ระยะก่อนสมองเสื่อม(Predementia)
อาการเริ่มแรก มักจะเข้าใจว่าเกิดขึ้นเองจากความชรา หรือเกิดจากความเครียด กว่าที่จะพบว่าผู้ป่วยมีความบกพร่องครบตามเกณฑ์การเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็กินเวลาถึง 8 ปี
อาการระยะนี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันที่ซับซ้อน, ความบกพร่องที่เห็นได้ชัดคือเริ่มสูญเสียความจำ, จำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานไม่ได้ และความสามารถการรับข้อมูลใหม่ๆลดน้อยลง
โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่ต้องมีสมาธิ เช่น การวางแผน การประเมินสถานการณ์ เกิดความเฉื่อยชา(apathy)ได้ในระยะนี้ และจะเป็นอาการที่คงอยู่ตลอดระยะเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งระยะนี้อาจเรียกอีกอย่างว่าเริ่มความบกพร่องด้านการรับรู้(mild cognitive impairment) - ระยะสมองเสื่อมระยะแรก (Early dementia) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำและการเรียนรู้ มีความสับสน หลงลืม คิดอะไรครึ่งๆ กลางๆ มักจำเหตุการณ์หรือการสนทนาที่เพิ่งผ่านไปไม่ได้ ความสามารถในการพูดหรือเขียนภาษาลดน้อยลง การใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม อาจจะเริ่มมีปัญหากับ การเขียน การวาดภาพ หรือการแต่งตัว ซึ่งทำให้แลดูเป็นคนที่เงอะงะหรือซุ่มซ่าม
ในระยะนี้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้ และยังสามารถทำงานหลายอย่างได้ด้วยตัวเอง แต่ในกิจกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการคิดหรือการรู้อย่างมากอาจต้องอาศัยผู้ช่วยหรือผู้ดูแล
- ระยะสมองเสื่อมระยะปานกลาง(Moderate dementia) จะพบความเสื่อมของสมองจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ ทำให้ใช้ศัพท์ผิดหรือใช้คำอื่นมาแทน (paraphasia) ทักษะการอ่านและการเขียนค่อยๆ เสียไปเรื่อยๆ
ทักษะต่างๆลดลง จนไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกติ ความทรงจำระยะยาวซึ่งแต่เดิมยังคงอยู่ก็จะค่อยๆ บกพร่องไป และอาจลืมวิธีทำอะไรง่ายๆ เช่น อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ความจำของผู้ป่วยจะแย่ลงเรื่อยๆ อาจจำคนในครอบครัวหรือญาติสนิทไม่ได้ หลงทางในที่ที่คุ้นเคย,หนีออกจากบ้านเพราะเกิดสับสน หรือเห็นภาพหลอนในเวลาโพล้เพล้หรือกลางคืน (sundowning) ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อาจมีอารมณ์แปรปรวน เช่น ร้องไห้ หรือก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยเกิดอาการเชื่อว่าบุคคล,สิ่งของ หรือสถานที่เปลี่ยนแปลงไป - ระยะสมองเสื่อมระยะสุดท้าย (Advanced dementia)เป็นระยะที่ความจำ การตัดสินใจ และการใช้เหตุผลสูญเสียไปทั้งหมด
ทักษะทางภาษาของผู้ป่วยลดลง ตั้งแต่พูดได้เพียงวลีง่ายๆ หรือคำเดี่ยวๆ จนถึงขั้นไม่สามารถพูดได้เลย อาจมีอารมณ์ก้าวร้าว แต่อาการซึมและความอ่อนเพลียจะเด่นกว่า จนในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดได้เลย มวลกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจนผู้ป่วยต้องนอนนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่สามารถแม้แต่ป้อนอาหารด้วยตนเองได้ ทำให้ต้องได้รับความช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน
โรคอัลไซเมอร์ไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยตรง แต่การเสียชีวิตมักเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น แผลกดทับหรือโรคปอดบวม
credit:http://th.wikipedia.org
0 comments:
แสดงความคิดเห็น