11/23/2554

Vitamin B3 ความสำคัญของ วิตามินบี 3


วิตามินบี 3 Vitamin B3 อยู่ในกลุ่มวิตามินบี B-Complex หรือเรียกกันว่า ไนอาซิน Niacin เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดนิโคตินิก Nicotinic acid

การขาดวิตามินบี3 อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางพันธุกรรม(DNA) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความสามารถป้องกันโรคมะเร็ง

ไนอาซินมีส่วนสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย โดยการแปลงไขมันและคาร์โบไฮเดรต

ไนอาซินยังถูกใช้ในการสังเคราะห์แป้งให้เป็นพลังงาน และเก็บไว้ในกล้ามเนื้อและตับเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย
และจากการศึกษาพบว่า การได้รับ Vitamin B3 ในปริมาณสูงๆ สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

วิตามินบี 3 Vitamin B3 สามารถเพิ่มการสร้างคอลลาเจน collagen และ Lipid ในผิวหนังของร่างกายเรา และยับยั้งการสร้างสารเมลานิน Melanosome ซึ่งเป็นตัวเร่งทำให้ผิวสีเข้มขึ้น ลดการอักเสบ การไหม้ของผิวหนัง Inflammation เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง

ไนอาซิน เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้น้อยที่สุด มีเสถียรภาพมาก สามารถคงทนต่อแสง ความร้อน ความชื้น สภาพกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี

ด้วยคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพ และหาได้ไม่ยาก จึงมีการนำไนอาซิน หรือ วิตามิน บี3 ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องสำอาง บำรุงผิว กันแพร่หลาย
egg and wholewheat bread

ประโยชน์ของ วิตามินบี3 หรือ ไนอาซิน

  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant ช่วยต่อทำลายพิษหรือ ท็อกซินจากมลพิษ ลดความอยากดื่มแอลกอฮอล์ และ ยาเสพติด

  • ช่วยลดการสร้างเมลานินที่ทำให้สีผิวเข้มขึ้น ผิวไม่คล้ำมีแนวโน้มเป็น Whitening ช่วยลดการอักเสบของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมความแข็งแรงาของชั้น Lipid ที่ป้กป้องผิว

  • ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
  • รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

  • ช่วยให้อาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น

  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง และ ลดโคเรสเตอรอล ลดไขมันเลว LDL

  • อาจจะช่วยลดการผลิตน้ำมันของผิวได้ แต่ยังไม่มีใครสามารถอธิบายการทำงานของมันได้
    และที่สำคัญ VITAMIN B3 ไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองในร่างกายของคนเรา แต่สามารถรับ ได้จากอาหารหรือผิวหนังเท่านั้น แหล่งอาหารที่มี VITAMIN B3 คือ ชะอม ถั่ว เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ จมูกข้าว ขนมปังโฮลมีล
Continue reading...

11/15/2554

Zinc เราต้องกินสังกะสีจริงหรือ


Zinc หรือ สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย (Trace Minerals)

แม้ว่าร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่จะขาดไม่ได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็ทำงานผิดปกติไป

ส่วนประกอบของสังกะสีในร่างกายมนุษย์ คือ 90% อยู่ที่ กระดูก กล้ามเนื้อ 10% อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด และแบ่งย่อยลงอีก คือ สังกะสีที่อยู่ในเลือดนั้น 80% อยู่ในเม็ดเลือดแดง อีก 20% อยู่ในน้ำเลือด


สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีความสำคัญต่อการทำงานของตับ,ตับอ่อน และ มีส่วนร่วมในการทำงานกับโปรตีนเอนไซม์ มากกว่า 100 ชนิด เอนไซม์

อาจกล่าวได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ เช่น ช่วยกำจัดแอลกอฮอล์ ในตับ ใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน สร้างกระดูกและฟัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบประสาทสมองให้สมดุล มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโต สังกะสี ช่วยให้เซลส์สามารถจับกับวิตามิน เอ ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี แผลต่างๆ หายเร็วขึ้น ป้องกันการเป็นหมัน



สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ขึ้นได้เอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว แหล่งอาหารที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง นมวัว นมแม่ หอยนางรม อาหารทะเล ธัญพืชและถั่วต่างๆ



ความต้องการสังกะสี ในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)
อายุ > 1 ปี ปริมาณแนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 1 –10 ปี ปริมาณแนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 11+ ปี ปริมาณแนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน

แม้ว่าร่างกายต้องการสังกะสีเพียงเล็กน้อย และได้เลือกบริโภคอาหารที่มีสังกะสีแล้วก็ตาม  แต่ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ร่างกายได้รับ สังกะสีไม่เพียงพอ


  • การบริโภคอาหารที่มีสังกะสีน้อยเกินไป หรือบริโภคอาหารกลุ่มไฟเบอร์ แอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้การดูดซึมสังกะสีได้ลดลง






  • อายุที่มากขึ้น, หญิงตั้งครรภ์, คนที่ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน, คนที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง, ผิวหนังอักเสบ หรือ ตับแข็ง จำเป็นต้องได้รับสังกะสีมากขึ้น






  • คนที่เป็นโรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสีไม่ดี คือโรคที่เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica ซึ่งมีอาการเป็นโรคผิวหนังอักเสบ และมีความผิดปกติทางจิตใจ




  • การขาดสังกะสีเป็นเวลานาน ในเด็กทำให้แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต ,ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดง พุพอง, การรับรู้รสน้อยลง, ซึมเศร้า, ตาบอดแสง, ผมร่วง, เล็บเปราะ ฯลฯ
    Continue reading...

    11/14/2554

    ทำไมร่างกายขาด Co-Enzyme Q10 ไม่ได้


    sponsored
    Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น เป็นสารกึ่งวิตามินที่ละลาย ในไขมัน โดยจะพบที่ในเยื่อหุ้มของ mitochondria ที่ร่างกายเราสามารถสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ปริมาณการสร้างลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ก็เสื่อมถอยลง ทำให้คนในวัยกลางคนมีโอกาสที่จะขาด Co-Enzyme Q10 เพราะตับอาจไม่สามารถสังเคราะห์ Co-Q10 ได้ในปริมาณเท่าเดิม สิ่งที่ตามมาจากการมี Co-Q10 ลดลง คือ ริ้วรอย ความเสื่อม ของระบบต่างๆ

    ร่างกายสามารถสร้าง Co-enzyme Q10 ได้จากการสกัดและสังเคราะห์ผ่านตับ จากการดูดซึมสารอาหาร ที่เราได้รับในแต่ละวัน โดยเก็บไว้ในเซลล์ ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเซลล์นี้มีอยู่มากในอวัยวะที่ต้องทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต และกล้ามเนื้อ อีกทั้ง Co-enzyme Q10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม อัมพาต



    อาหารที่พบว่า มี Co-enzyme Q10 ได้แก่ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เครื่องในสัตว์ เฉพาะส่วนหัวใจ และตับ ในพืชจะพบได้ใน ถั่วลิสง และน้ำมันถั่วเหลือง



    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการแพทย์จะมีการใช้ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ในการป้องกันโรคหัวใจ เพราะมีการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สามารถช่วยยับยั้ง ไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวเป็นก้อนแข็งในหลอดเลือด จึงช่วยลดปัญหาหลอดเลือดแข็ง และอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ด้วย
    Continue reading...
     

    To live healthy Copyright © 2009 Cosmetic Girl Designed by Ipietoon | In Collaboration with FIFA
    Girl Illustration Copyrighted to Dapino Colada